ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

ปากน้ำแหลมสิงห์ในอดีต :: หน้าหนาว เล่นว่าว

 
 
ภาษาของคนปากน้ำแหลมสิงห์ โรงพักและตำรวจสมัยก่อน หน้าฝนที่แหลมสิงห์ อาชีพเลี้ยงเป็ด
อาหารหลักของเป็ด เล้าเป็ด หน้าหนาว เล่นว่าว ประเพณีการทำบุญกลางทุ่ง

ตอนเป็นเด็ก การเล่นที่เป็นที่นิยมมากนอกจากเล่น ลูกข่าง เล่นโยนยางแล้ว การเล่นว่าวเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ที่เราวัยเด็ก รอคอยกันอย่างกระวนกระวาย ว่าเมื่อไรนะที่ ลมว่าว มาสักที

ลมว่าวมาพร้อมกับความหนาวเย็นที่น่าตื่นเต้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว

มาพร้อมๆ กับช่วงนวดข้าว พร้อมๆ กับกองฟางข้าว ที่เตรียมไว้กันความหนาวเย็นของลมว่าวที่กรรโชกมาอย่างแรง

แรงขนาดไหนนั้น สังเกตจากต้นมะพร้าวที่เอนจากแรงลม สังเกตจากทางมะพร้าวที่ที่ลู่ลม ส่งเสียงซู่ ซู่ ตลอดทั้งวันตลอดทั้งคืน

ยามเด็กที่ยังเล่นว่าวไม่เป็นเพียงแค่เป็น “ส่งว่าว” ก็สนุกแล้ว “ส่งว่าว” หมายถึงคอยจับว่าวให้ตั้งตรงโต้ลม เมื่อคนชักว่าวดึงเชือกก็ปล่อยว่าวจากมือให้ขึ้นท้องฟ้า เมื่อเห็นว่าวล่องลอยขึ้นฟ้าอย่างามีชีวิตชีวาก็แสนจะลิงโลดราวกับได้ขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าเริงร่าด้วย

พวกผู้ใหญ่มักเตรียมเล่นว่าว “ดุ๊ยดุ่ย” กันเมื่อเริ่มมีลมว่าวโชยมาและมักเริ่มหลังจากเสร็จการเก็บเกี่ยวข้าว และนวดข้าวแล้ว รุ่นใหญ่ที่เล่นว่าวกันมีบ้านลุงโทน เหียทิด มักปล่อยว่าวค้างคืนส่งเสียงข่มขวัญย่านอื่นๆ ไม่ว่าจะบ้านแถวกลาง บ้านคลองกลอย บ้านปลายเนิน

ผู้ที่ทำคันร้องที่เสียบที่ด้านหัวว่าว ทำให้ส่งเสียงดังไพเราะได้มากเท่าใด ยิ่งได้รับการยอมรับและได้รับคำชมเชยมากบางครั้งต่างหมู่บ้านก็ขี่จักรยานแวะมาฟัง แวะมาชม

เหียทวีป ลูกป้าวี ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ทำว่าว “ดุ้ยดุ่ย” ขึ้นได้นิงปละทำคันร้องได้เสียงดังและไพเราะมาก ยิ่งตอนกลางคืนที่เดือนหงายมองเห็นว่าวดุ๊ยดุ่ยอยู่สูง มีเสียงคันร้องสูงต่ำสลับไปมาตามแต่กระแสลมที่พัดมาปะทะ มีเสน่ห์จนเคลิ้มหลับไปอย่างเป็นสุข

ว่าว “ดุ๊ยดุ่ย” เป็นว่าชนิดที่มีปีก ๒ ชั้น ชื่อ “ดุ๊ยดุ่ย” นั้นเคยอ่านหนังสือทราบว่าเป็นชื่อว่าวที่เหมือนกับที่เรียกกันที่ภาคอีสาน คงเป็นชื่อแบบสากลทั่วไป ที่จะขึ้นดีและกินลมต้องทำขนาดใหญ่สักหน่อย ตั้งจากพื้นปกติก็ขนาดเอวบางตัวที่ใหญ่ก็ขนาดหน้าอก แต่ที่ขนาดใหญ่ท่วมศีรษะที่เคยเห็นในชีวิต ก็คือ ว่าวดุ๊ยดุ่ย ของตาวันเพ็ญ ทำเองทั้งเด็กและผู้ใหญ่ฮือฮากัน

ตาวันเพ็ญ เป็นชาวอีสาน ไม่แน่ใจว่ามาจากจังหวัดอะไร มาได้ภรรยาที่บ้านปากน้ำ อาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป อาจเป็นคนอีสานคนเดียวของบ้านปากน้ำที่มีความอดทนในการทำงาน ตากแดดตากฝนเก่ง จนเป็นที่ยอมรับของบ้านเรา ตาเพ็ญเคยทำว่าวดุ๊ยดุ่ยครั้งหนึ่ง ตัวใหญ่กว่าที่คนอื่นทำ คือ ท่วมศีรษะ รูปร่างไม่สวยนักแลคันร้องก็ไม่ไพเราะเหมือนที่คนอื่นๆ ทำปล่อยที่แถวหน้าบ้านป้าฉ่อง สามัยนั้นเป็นที่ว่างและมีบ่อเลี้ยงปลา จำได้ว่าด้วยความใหญ่ของว่าวทำให้กิน ลมแรงใช้เชือกเส้นใหญ่ดึงด้วยแรงไม่ไหวจนต้องผูกไว้กับต้นมะพร้าวกันเลย รู้สึกว่าจะขึ้นไม่ค่อยดีนัก แต่ก็ลบสถิติเรื่อง ขนาดของว่าวดุ๊ยดุ่ยทางแถบนี้ได้

ว่าวดุ๊ยดุ่ย การเหลาไม้ค่อนข้างจะต้องปราณีต โดยเฉพาะการทำสลักปีกให้ยึดแน่นกับแกนตัวว่าว และต้องผูกมัดด้วยเชือกอย่างแน่นหนา ด้านความสมดุลก็สำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าจะด้าน ซ้าย-ขวา หรือส่วนบน-ล่าง ด้วยมีขนาดใหญ่แรงลมปะทะมากจึงต้องใช้เชือกโยงด้านหลังเพิ่มแรงต้านลมของกระดาษสีที่แปะตัวโครงว่าว

หางว่าวก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ว่าวทรงตัวบนท้องฟ้าได้ดี หางว่าวส่วนใหญ่ใช้ผ้ามัดต่อเชื่อมกันเป็นหางยาวเป็น ๕ เมตร ถึง ๑๐ เมตร ผ้าถุงของแม่ที่เก่าเก็บมักมาใช้ประโยชน์ ได้ในหน้านี้

“คันร้อง” ต้องใช้ไม้ไผ่อย่างดีมาเหลา มาดัดโยงด้วยเชือก ที่เชือกจะใช้ใบตาลที่เลือกสรรแล้วมาโยงไว้ ที่สำคัญที่เชื่อว่าทำให้เสียงดังไพเราะ คือ การใช้ขี้ผึ้ง ที่เรียกว่า ผึ้งโรม มาแปะเชื่อมระหว่างใบตาลกับตัวเชือกที่ผูก เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความชำนาญอย่างยิ่ง ก่อนที่จะนำไปประกอบที่ด้ายหัวของว่าว จะต้องมีการทดสอบโดยใช้เชือกผูกเหวี่ยงเป็นวงรอบศีรษะเพ่อทดสอบเสียง เมือเสียงไพเราะถูกใจจึงนำติดที่ว่าวได้ หาไม่ถูกใจก็ต้องแก้ไขตนเป็นที่พอใจ แต่ก็มีอยู่เหมือนหันที่ตองแกว่งทดสอบเสียงดี แต่เวลาขึ้นไปบนฟ้าแล้ว สียงเพี้ยน บางอันก็ไม่กินลมไม่มีเสียงเอาดื้อๆ ก็มี

ว่าวดุ๊ยดุ่ย ทีมีคันร้องเสียงไพเราะ จะเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าของและสามารถ “โชว์” ได้ กล่าวคือ สามรถที่จะปล่อยค้าวันค้างคืนไว้บนฟ้าส่งเสียงกล่อมชาวบ้านได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะปล่อยเวลาตอนเย็นและไว้ค้างคืน เนื่องจากลางคืนกระแสลมมักสม่ำเสมอแรงตลอด ส่วนกลางวันมักไม่แน่นอน บางครั้งตอนเช้าลมแรง ตอนบ่ายลมเงียบว่าวมักตกอยู่เสมอ

ด้วยความสามารถที่แตกต่างกันของการทำคันร้อง และความซับซ้อนยุ่งยากในการทำว่าวดุ๊ยดุ่ย ทำให้มีไม่กี่คนที่ปล่อยว่าวขึ้นส่งเสียง “โชว์” ได้ อาจมีหมู่บ้านและแค่รายหรือสองราย เช่น แถวกลางอาจมี ๒ ราย หน้าโรงเรียนวันครูก็มีทางคลองกลอยก็มี

มิตร (นายสายัณห์ เนินหาด) ที่ทันได้เล่นว่าวดุ๊ยดุ่ย เล่าเรื่องการเล่นว่าวดุ๊ยดุ่ยสมัยก่อนว่า

“ ตอนเด็ก หากย้อนไปคงประมาณ ๓๐ ปีเศษ ประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๑๐ สมัยนั้นหน้าหนาวลมว่าวแรง อากาศหนาวจริงๆลมแรงก็จะทำว่าวเล่นกัน คนหนึ่งที่ทำว่าวดุ๊ยดุ่ยเก่ง คือ
อาตี๋ ม้าแก้ว น้องของกำนันเอี้ยว ม้าแก้ว มักเล่นว่าวก่อนใครว่าวมักทำไว้ค้าปี พอลมว่าวมาก็นำออกมาเล่นก่อนเพื่อน สมัยนั้นมักใช้ลวดมาแทนเชือก เพราะเชือกไนล่อนยังไม่มีการผลิตมาใช้มีการตัดไม้ไผ่ขนาดยาวประมาณศอก มาเป็นที่ม้วนเก็บลวด ว่าวของอาตี๋ตัวใหญ่ สู่ท่วมหัว ขนาดประมาณ ๒ เมตร การถือว่าวจังหนักมากมักใช้ผ้ารองก้นลวดบาดมือ คันร้องก็เสียงดี ใครสู่อาตี๋ยาก


“ทางใกล้แถวบ้านก็มี ทวีป ลูกลุงเปื้อน ทำว่าวเก่ง ปาง ลูกป้าปลาย ก็เก่ง แถวหน้าโรงเรียนวันครู ก็มีเหียอาจ พี่ผู้ใหญ่พจน์ ทำว่าวเก่ง อีกคนคือ วันพ็ญ ชาวอีสานมาอยู่บ้านเราเคยทำว่าวใหญ่ วันเพ็ญเสียชีวิตไปเมื่อปลายเดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ทำให้สีสรรค์จองบ้านเราขาดหายไปส่วนหนึ่ง

“การเล่นว่าวดุ๊ยดุ่ย มักจะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ ตื่นขึ้นว่าก็เตรียมกันเลยเพราะลมกำลังดี ใครตื่นสายก็มีเสียงว่าวเป็นตัวปลุกอย่างหนึ่ง คนรุ่นก่อนๆ มักตื่นเช้าเพราะนอนกันตั้งแต่หัวค่ำ ไม่มีโทรทัศน์ดู จะนอนดึกก็ต่อเมื่อมีหนังขายยาที่หน้าโรงพัก หรือ หนังงานบวช นอกจากนี้ก็เหมันต์หรรษาที่ทุ่งนาเชย กลับมาดึกเข้าตื่นไม่ค่อยไหว มักตื่นสาย

“เล่นว่าวตั้งแต่เช้า และปล่อยไว้ทั้งวันทั้งคืน ยกเว้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับว่าว เช่น คันร้องขาด ไม่มีเสียง สายซุง คือ เชือกที่มัดตัวว่าวขาด หรือเชือกว่าวขาด ว่าวหลุดลอยหายไป หากชักสูงๆ ก็ลอยไปตกทะเลโน่น หากไม่สูงนักก็ไป ตกชายหาดคนเก็บมักเก็บไว้เลยไม่คืนบางครั้งเจ้าของก็พอรู้ว่ามีใครเก็บได้ แต่ก็ไม่มีพยานยืนยันก็มักปล่อยเลยตามเลย”

ผู้ใหญ่มักเล่นว่าวดุ๊ยดุ่ย ส่วนเด็กๆ มักเล่นว่าวหาง ว่าวอีลุ้ม คือว่าวที่ไม่มีหาง ซึ่งทำได้ง่ายกว่า
ปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ “ลมว่าว” ในหน้าหนาวแทบจะหมดไปหรือ แว้บมาในช่วงสั้นๆ ประกอบกับการต้องทำมาหากินกันมากขึ้น ให้ทันการค่าใช้จ่ายหลากหลายที่มาสู่ชีวิตประจำวัน ทำให้การเล่นว่าวกลายเป็น ส่วนเกินและกลาเป็นอดีตที่สนุกสนานและชวนให้ระลึกถึง


โดย พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
ผู้กำกับการตำรวจภูธรพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011